หน้าแรก / แพ็คเกจโปรโมชั่น

Package ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลด อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า อาจมีการทำอัลตราซาวด์เพิ่ม เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

แนะนำให้สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปีสตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป ได้แก่

  • มีประวัติมะเร็งเต้านมและ/หรือมะเร็งรังไข่ในครอบครัว โดยเฉพาะในญาติสายตรงได้แก่ ยาย มารดา พี่สาวหรือน้องสาว และจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นถ้าญาติเหล่านี้เป็นก่อน
    อายุ 50 ปี หรือมีญาติเป็นกันหลายคน เคยได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่อายุน้อย
  • เคยได้รับการเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดเต้านมแล้วเป็น Lobular carcinoma in situ หรือ Atypical ductal hyperplasia
  • มีประวัติมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้าง
  • สตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
  • ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทนในวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี

สตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมดังกล่าวนี้ควรได้รับการตรวจแมมโมแกรมทุกปีเพราะ

ชนิดของมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง การได้รับฮอร์โมนเสริมอาจทำให้มะเร็งที่ซ่อนอยู่โตเร็วขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี

 

 ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจแมมโมแกรม คือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือนเพราะช่วงนี้ฮอร์โมนใน ร่างกายเริ่มลดลง ทำให้เต้านมไม่คัดตึง เวลาใช้แผ่นกดขณะตรวจแมมโมแกรมก็ไม่เจ็บ

บางรายที่มีก้อนเนื้องอกธรรมดาหรือถุงน้ำ (ซีสต์) ซึ่งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เล็กน้อยหรืออาจมีถุงน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้มีประจำเดือนเนื่องจากมีฮอร์โมนมากระตุ้นก็อาจยุบลงไปได้เอง

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม อาจมี ผลลบลวง คือ มีสิ่งผิดปกติแต่แมมโมแกรม ตรวจไม่พบความผิดปกติ ส่งผลให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมล่าช้าออกไป ผลลบลวงพบได้ 4-34%

แต่ถ้ามีการตรวจอัลตร้าซาวด์ร่วมด้วยมีรายงานว่าผลลบลวงเหลือเพียง 2-3% การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม อาจมีผลบวกลวง คือ ไม่มีความผิดปกติ แต่แมมโมแกรมบอกว่าผิดปกติ พบได้ 3-6% ผลบวกลวงทำให้ต้องมาติดตามผลระยะสั้น เช่น ตรวจแมมโมแกรมและหรืออัลตราซาวด์ทุก 6 เดือน หรือต้องเจาะตรวจ/ผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อโดยไม่จำเป็น

การรายงานผลแมมโมแกรม จะใช้แนวทางการแปลงผลที่เรียกว่า BI-RADS (Breast Imaging Reporting and data system) ซึ่งเสนอโดยสมาคมรังสีแพทย์อเมริกัน จะแบ่งเป็น

  • Category 0 – ยังรายงานผลแน่นอนไม่ได้ ต้องการเปรียบเทียบกับแมมโมแกรม ครั้งก่อน หรือต้องการการตรวจอย่างอื่น เช่น อัลตร้าซาวด์
  • Category 1 – ไม่พบความผิดปกติใด
  • Category 2 – มีสิ่งตรวจพบแต่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น หินปูนชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
    สำหรับ Category 1 และ 2 แนะนำให้มาตรวจแมมโมแกรมในอีก 1 ปีถัดไป
  • Category 3 – สิ่งที่ตรวจพบน่าจะไม่ใช่มะเร็ง (โอกาสเป็นมะเร็งไม่เกิน 2%) กรณีนี้แนะนำให้มาตรวจแมมโมแกรมในอีก 6 เดือน เพื่อติดตามผล
  • Category 4 – สิ่งที่ตรวจพบไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ จำเป็นต้องเจาะ ชิ้นเนื้อ หรือ ผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบัน Category 4 ยังไม่แยกเป็น 4A, 4B และ 4C ตามความสงสัยมาก-น้อยว่าจะเป็นมะเร็ง
  • Category 5 – ความผิดปกติที่พบสงสัยอย่างยิ่งว่าเป็นมะเร็งเต้านม (โอกาสเป็น มะเร็งเต้านมมากกว่าหรือเท่ากับ 95% กรณีนี้ต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน
  • Category 6 – ได้รับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้วอยู่ระหว่าง การรักษา เช่น ให้เคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด

ตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ด้วย แมมโมแกรม

ราคา 2,500 บาท (จากปกติ 4,000 บาท) (Mammogram & Ultrasound breast)

 

สอบถามข้อมูลและเข้ารับบริการที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 อินเตอร์

151 หมู่ 4 ตำบลกรอกสมบูรณ์ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 
โทรศัพท์ : 037-239665

Facebook : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 อินเตอร์

 

โทรหาเราได้ที่

1609

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 อินเตอร์

151 ม.4 ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 25140

โทรศัพท์ : 037-239-665 แฟกซ์ : 037-239-669

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ