หน้าแรก / ข่าวสารและกิจกรรม

มะเร็งทางนรีเวชที่ผู้หญิงควรระวัง

                          

 

มะเร็งทางนรีเวชที่สำคัญและพบได้บ่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ นอกเหนือจากนี้มะเร็งทางนรีเวชที่สามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยเท่ามะเร็งข้างต้นได้แก่ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งเนื้อรก

 

ส่วนใหญ่ผู้หญิงในประเทศไทยจะเป็นมะเร็ง มะเร็งเต้านม ยังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นอันดับหนึ่งทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก โดยอันดับสองรองลงมาในส่วนของมะเร็งทางนรีเวชก็จะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ ตามลำดับอายุที่มีโอกาสเกิดมะเร็งทางนรีเวช ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆปัจจัยและชนิดของมะเร็งนั้นๆ โดยเมื่อประมาณอายุโดยเฉลี่ยแล้วนั้น

มะเร็งปากมดลูก พบว่ามักวินิจฉัยเจอในช่วงอายุ 35-55ปี

มะเร็งโพรงมดลูก มักพบในคนไข้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว พบได้บ่อยในช่วงอายุ 55-64ปี

 

มะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องอายุที่มากกว่า50ปี พันธุกรรม (มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม) การกลายพันธุ์ของยีนBRCA มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมขึ้นข้างหนึ่งก่อนหน้า ผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนไวกว่าคนทั่วไป ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์และโรคอ้วน

ลักษณะอาการ จะสามารถแสดงออกมาได้หลายลักษณะ ทั้งในลักษณะ คลำได้ก้อน มีน้ำหรือเลือดไหลจากหัวนม เต้านมผิดรูป หัวนมบุ๋ม ผิวของเต้านมขรุขระ เจ็บตึงเต้านมหรือหัวนม เต้านมมีลักษณะบวมแดงหรือมีแผล

การป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ คือการตรวจเต้านมโดยการคลำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และแนะนำการตรวจคัดกรองด้วย Mammography ตั้งแต่อายุ 40 ปี

การรักษา เมื่อได้รับการยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งแล้ว การรักษาจะรักษาโดยศัลยแพทย์ ซึ่งจะมีแนวทางการรักษาขึ้นกับระยะของโรค และระดับความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งมีทางเลือก ทั้งการผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด การใช้ฮอร์โมนรักษา การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะต่อเซลล์มะเร็ง

 

มะเร็งปากมดลูก

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก คือการติดเชื้อ HPVชนิดก่อมะเร็ง โดยชนิดที่เป็นสาเหตุหลัก คือ HPV 16,18 ซึ่งส่วนใหญ่การติดเชื้อ HPV จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อ HPV และส่วนมากจะไม่แสดงอาการ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ปากมดลูกมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้นหรือง่ายขึ้น เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การมีลูกหลายคน มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การสูบบุหรี่ การกินยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน

ลักษณะอาการ ในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ แต่อาจตรวจพบจาการตรวจPAP smear อาการที่มักพบมากที่สุดคือ เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวปนเลือด เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน หากมะเร็งมีการลุกลามแล้ว อาจมีอาการทางเดินปัสสาวะอุจจาระผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ถ่ายลำบาก

การป้องกัน สามารถทำได้ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้ปากมดลูกติดเชื้อ HPV เช่นการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัย การมีคู่นอนคนเดียว และการฉีดวัคซีน HPV vaccine และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะ คือ PAP smear หรือ PAP test ร่วมกับ การหาเชื้อHPV(HPV DNA testing)

การรักษา  การรักษาขึ้นกับระยะของมะเร็งปากมดลูก โดยในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้ แต่หากเลยระยะเริ่มต้นไปแล้ว การรักษามีทั้งรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเดียว รักษาโดยการผ่าตัดและฉายแสง และรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง

 

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ได้แก่ การมีเอสโตรเจนเกิน เช่นการรักษาสตรีวัยหมดประจำเดือนด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมลำพัง หรือ ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว ภาวะไม่เคยมีบุตร การมีประจำเดือนยาวนาน

ลักษณะอาการ มักแสดงออกในลักษณะการมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกผิดปกติ สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ

การป้องกัน แนะนำโดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดีงที่ได้กล่าวในข้างต้น และมาเข้ารับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

การรักษา การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คือการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อที่สามารถบอกระยะของโรค และอาจมีการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และการฉายแสงตามมา ซึ่งขึ้นกับระยะและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรค

 

มะเร็งรังไข่


ในประเทศไทย มะเร็งรังไข่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีรองจากมะเร็งปากมดลูก โดยพบประมาณ 5.9 คนต่อ 100,000 คนต่อปีรองจากมะเร็งเต้านม
ปากมดลูก ปอด ตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามจัดเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงเนื่องจากประมาณสามในสี่ของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จะอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคได้
ครั้งแรก ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางยุรปบางประเทศ มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงสุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของกรเกิดมะเร็งรังไข่แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการมีไข่ตกในแต่ละรอบเดือนของสตรี ดังนั้นจะพบบ่อยขึ้นในสตรีที่เริ่มมีระดูครั้ง
แรกเมื่ออายุน้อยและหมดระดูเมื่ออายุมาก ในสตรีกลุ่มนี้จะมีการไข่ตกเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในสตรีที่มีมีบุตรหรือมีบุตรยาก แต่อุบัติการณ์จะลดลงในสตรี
ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเนื่องจากจำนวนครั้งของการมีไข่ตกลดลง


อาการ

ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยเรื่องปวด แน่น อึดอัดท้อง หรือคลำพบก้อนในท้อง และบ่อยครั้งที่อาการปวดท้องแน่นท้องไม่เฉพาะเจาะจงโดยอาจมีอาการคล้ายกับโรคทางเดินอาหารผิด
ปกติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารผิดปกติเป็นเวลานานก่อนจะตรวจพบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจกรองของมะเร็งรังไข่ที่เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดีและได้ผลคุ้มค่าเหมือนการตรวจกรองของมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจกรองที่ดีที่สุดในสตรี
ทั่วไปคือการตรวจภายในประจำ ในรายที่สงสัยสามารถใช้กรตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเจาะเลือดดูสารบางอย่างที่สร้างจากมะเร็งไข่


วิธีการรักษา

การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของมะร็งรังไข่ ผู้ป่ยส่วนมากกได้รับกรรักษาต่อด้วยยามีบำบัดเพื่อป้องกันการกลับเป็นช้ำ กรรักษาจะได้ผลดีในกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะ
เริ่มแรกแต่ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักอยู่ในระยะลุกลามเมื่อวินิจฉัยโรคครั้งแรก ทำให้การรักษาโรคนี้ได้ผลที่ไม่ดี

โทรหาเราได้ที่

1609

พร้อมบริการทุกวัน 24 ชม.

หากท่านมีข้อคำถาม หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชม

สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 อินเตอร์

151 ม.4 ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 25140

โทรศัพท์ : 037-239-665 แฟกซ์ : 037-239-669

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ